ประเภทขบวนรถไฟ

รถด่วนพิเศษ
ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น ปัจจุบันมีชนิดรถให้บริการ ดังนี้
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ(บนท.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ(บนท.ป.) (JR-West) (เฉพาะขบวนที่ 13/14)
  • รถโบกี้นั่งชั้นที่ 2 (บชท.) (เฉพาะขบวนที่ 37/38)
  • รถโบกี้นั่งชั้นที่ 3 (บชส.) (เฉพาะขบวนที่ 37/38)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ(กซม.ป.) (ในขบวนที่ 9/10 41/42 เป็นต้น)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ (กซข.ป.)
รถด่วน
ขบวนรถด่วน (Express) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.) (ยกเว้นขบวนที่ 51/52)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ(บนท.ป.) (JR-West) (เฉพาะขบวนที่ 67/68)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.) (เฉพาะขบวนที่ 51/52)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.) (เฉพาะขบวนที่ 85/86)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.) (ยกเว้นขบวนที่ 67/68)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ (กซข.ป.) (เฉพาะขบวนที่ 71/74 เป็นบางครั้ง)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซม.ป.)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.) (เฉพาะขบวนรถด่วนสายอีสาน)
รถเร็ว

ขบวนรถเร็วที่ 112 ที่สถานีรถไฟพิชัย
ขบวนรถเร็ว (Rapid) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกลหยุดเกือบทุกสถานี รถพ่วงส่วนใหญ่จะเป็นรถนั่งชั้น 3 คิดค่าธรรมเนียมขบวนรถ ตามระยะทาง แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.) (ในรถเร็วบางขบวน)
  • รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.ป.) (ในรถเร็วบางขบวน เช่น 107/108 เป็นต้น)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 และ 3 ติดกัน (บสส.) (ในขบวน 115/116, 177/178 เป็นต้น)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.) (เฉพาะขบวน 105/106)
  • รถกำลังดีเซลรางไม่มีห้องขับปรับอากาศ (กซม.ป.) (เฉพาะขบวน 105/106)
รถธรรมดา
ขบวนรถธรรมดา (Ordinary) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร จากกรุงเทพไปยังจังหวัดสำคัญๆ ในแต่ละภูมิภาค โดยมีระยะทางระหว่าง 151 - 600 กม. หยุดรับส่งทุกป้ายหยุด ที่หยุด และสถานี แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 และ 3 ติดกัน (บสส.) (บางขบวน)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.) (บางขบวน)
รถชานเมือง

ขบวนรถไฟดีเซลราง มักจะนำมาวิ่งเป็นรถชานเมือง
ขบวนรถชานเมือง ( Bangkok Commuter) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 150 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุก ๆ สถานี และป้ายหยุดรถ โดยมีเส้นทางที่ให้บริการ ดังนี้
รถท้องถิ่น

ขบวนรถท้องถิ่น 408 ที่สถานีรถไฟพิชัย
ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ รถพ่วงจะเป็นรถโดยสารนั่งชั้น 3 ตลอดทั้งขบวน แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.) (เฉพาะขบวนรถท้องถิ่นสายใต้)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.) (เฉพาะขบวนรถท้องถิ่นสายเหนือ / สายอีสาน)
  • ขบวนรถที่จัดให้บริการ
สายเหนือ (ใช้รถดีเซลราง THN/NKF ทำการ)
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี - พิษณุโลก - ลพบุรี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก - ศิลาอาสน์ - พิษณุโลก
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์ - เชียงใหม่ - นครสวรรค์
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 409 อยุธยา - ลพบุรี (เดินเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์)
สายอีสาน (ใช้รถดีเซลราง RH/RHN ทำการ)
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 415/418 นครราชสีมา - หนองคาย - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417/416 นครราชสีมา - อุดรธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421/422 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 423/424 ลำชี - สำโรงทาบ - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 425/426 ลำชี - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 429/430 นครราชสีมา - ชุมทางบัวใหญ่ - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 ชุมทางแก่งคอย - ขอนแก่น - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 437/438 ชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
สายใต้ (ใช้รถโบกี้ชั้น 3)
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 445/446 ชุมพร - ชุัมทางหาดใหญ่ - ชุมพร
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 447/448 สุราษฏร์ธานี - สุไหงโกลก - สุราษฏร์ธานี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 451/454 นครศรีธรรมราช - สุไหงโกลก - ยะลา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 453/452 ยะลา - สุไหงโกลก - นครศรีธรรมราช
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 455/456 นครศรีธรรมราช - ยะลา - นครศรีธรรมราช
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 457/458 นครศรีธรรมราช - พัทลุง - นครศรีธรรมราช
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 463/464 พัทลุง - สุไหงโกลก - พัทลุง
รถรวม
ขบวนรถรวม เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ และมีรถสินค้าพ่วงในขบวนด้วย เพื่อรับ -ส่งสินค้า ปัจจุบันมีการเดินรถในเส้นทางสายใต้ จำนวน 2 ขบวน คือ
  • ขบวน 485/486 ชุมทางหนองปลาดุก-น้ำตก-ชุมทางหนองปลาดุก
  • ขบวน 489/490 สุราษฏร์ธานี-คีรีรัฐนิคม-สุราษฏร์ธานี
รถนำเที่ยว
ขบวนรถนำเที่ยว (Excursion) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ จะหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น
รถสินค้า
ขบวนรถสินค้า คือขบวนรถไฟที่ประกอบด้วยรถสินค้าเท่านั้น ให้บริการด้านการขนส่งสินค้า "ประเภทเหมาคัน" ทั้งภายในประเทศ และเพื่อส่งออกประเทศมาเลเซีย ที่สถานีปลายทางสุไหงโก-ลก และสถานีปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟชายแดน
รถไฟฟ้า
รถไฟฟ้า (Electrified Train) คือขบวนรถไฟที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยใช้การจ่ายไฟฟ้าโดยสายส่งเหนือหัว วิ่งบนรางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟประเภทนี้จะสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบกับระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อให้ตัวระบบคอมพิวเตอร์ที่รถไฟฟ้าทำงาน ทำให้หน้าที่ของพนักงานขับรถมีเพียงอย่างเดียวคือ เปิด-ปิด ประตู แต่ในกรณีที่ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง พนักงานขับรถก็ต้องทำการขับรถไฟด้วยตนเอง รถไฟประเภทนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อเพลิง เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด จึงสามารถให้บริการได้ดีกว่า แต่ยกเว้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วกรุงเทพนั้น รถไฟจะปรับไปใช้ระบบไฟฟ้าสำรองในตัว และตัดการทำงานที่ไม่จำเป็น เพื่อทำการส่งผู้โดยสารให้เร็วที่สุด รถไฟประเภทนี้ให้บริการในโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด
  • Siemens Desiro UK Class 360/2 Airport Express มีทั้งหมด 4 ขบวน ใช้วิ่ง 3 ขบวน สำรอง 1 ขบวน โดย 1 ขบวนจะมี 4 โบกี้ แบ่งเป็นตู้สำหรับขนสัมภาระ 1 โบกี้ และตู้โดยสาร 3 โบกี้ รวมทั้งหมด 16 ตู้
  • Siemens Desiro UK Class 360/2 City Line มีทั้งหมด 5 ขบวน ใช้วิ่ง 4 ขบวน สำรอง 1 ขบวน โดย 1 ขบวนจะมี 3 โบกี้ เป็นตู้โดยสารทั้งหมด รวมทั้งหมด 15 ตู้
การสำรองรถไฟฟ้าในที่นี้กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รถไฟฟ้าไม่สามารถวิ่งได้ตามปกติ จะมีการส่งรถสำรองจากศูนย์ซ่อมบำรุงออกไปยังจุดที่เกิดปัญหา เพื่อรับผู้โดยสารไปส่งยังสถานีปลายทาง